การแต่งภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม Adobe Light room


วิธีใช้ Light room พื้นฐาน



เริ่มจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาก่อน จะได้หน้าจอตามนี้


หลังจากนั้นให้ทำการ Import รูปที่เราจะปรับแต่งโดยเลือกเมนู"Import photos from disk..."










                                                                                                                                                                                    หลังจากนั้นก็เลือกไฟล์รูปที่เราต้องการปรับแต่ง





เมื่อเลือกเสร็จก็จะได้หน้าจอตามรูปข้างล่างนี้จากนั้นให้นำเม้าส์ไปกดที่คำว่า Develop ตามลูกศร


เมื่อกดเมนู develop แล้ว จะได้หน้าจอดังนี้ต่อมาให้ไปคลิ๊กที่รูปที่อยู่แถบด้านล่างสุด เพื่อเลือกรูปที่จะทำการปรับแต่ง


ในการปรับแต่งรูปด้วยโปรแกรม Light room อาศัยการดู Histogram เป็นหลักดังนั้นเราจึงควรมาทำความเข้าใจกับ Histogram กันก่อน
ด้านซ้ายของ Histogram คือสีโทนมืด ส่วนด้านขวาคือโทนสว่างเราจึงสามารถอาศัย Histogram ในการดูว่ารูปของเรามืดไปหรือสว่างไปได้นั่นเอง
ตัวอย่างในรูปจะเห็นว่ากราฟ Histogram นั้นเบ้มาทางด้านโทนมืดแต่ก็ถูกแล้ว เพราะในรูปตัวอย่างนั้น แบ็คกราวน์ กับเสื้อผ้าของแบบ เป็นสีดำดังนั้นการที่ Histogram เบ้มาทางด้านซ้ายจึงไม่ได้แปลว่ารูปมืดไปเสมอไป
ทีนี้ลองไปกดเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านซ้ายบน และด้านขวาบนของ Histogram ดูเมื่อกดเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านขวาตามลูกศรสีแดง จะเห็นว่ามีพื้นที่สีแดงโผล่ขึ้นมาในรูป พื้นที่นั้นคือพื้นที่ในส่วนของกราฟที่ล้นด้านขวาสุดของ Histogram ไป หรือก็คือส่วนที่กลายเป็นสีขาว จนเรามองไม่เห็นรายละเอียดใดๆในพื้นที่นั้นเลย 
ตรงข้าม เมื่อกดเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านซ้ายตามลูกศรสีน้ำเงิน จะเห็นว่ามีพื้นที่สีน้ำเงินโผล่ขึ้นมาในรูป พื้นที่นั้นคือพื้นที่ในส่วนของกราฟที่ล้นด้านซ้ายสุดของ Histogram ไป หรือก็คือส่วนที่กลายเป็นสีดำจนเรามองไม่เห็นรายละเอียดใดๆในพื้นที่นั้นเลยเช่นกันดังนั้นรูปถ่ายที่ดีคือรูปที่กราฟ ไม่ตกล้นไปทางด้านขวาและด้านซ้ายของ Histogram มากจนเกินไปนั่นเอง

จากรูปตัวอย่าง Histogram ล้นไปทางด้านขวาเล็กน้อย แต่ไม่ล้นไปทางด้านซ้ายเลย จึงเรียกได้ว่าเป็นรูปที่ความสว่างกำลังพอเหมาะ


                                                                                                                                                                          ทีนี้มาดูที่แถบเครื่องมือด้านขวามือของรูป ซึ่งจะขออธิบายแค่ Basic Tools ก็พอ โดยเครื่องมือต่างๆจะแบ่งออกเป็น
·  การปรับ White Balance สามารถปรับได้โดยใช้แถบเมนู Temp และ Tint
โดยที่ Temp เป็นแถบที่ใช้ปรับเมื่อรูปมีโทนน้ำเงินหรือเหลืองผิดปกติ
ส่วน Tint เป็นแถบที่ใช้ปรับเมื่อรูปมีโทนเขียวหรือแดงผิดปกติ
·  Exposure ใช้สำหรับเพิ่ม-ลด ความสว่างโดยรวมของภาพ 
เหมือนการปรับรูรับแสงในกล้องถ่ายรูป
·  Recovery ใช้สำหรับกู้รายละเอียดของพื้นที่ที่ล้นด้านขวามือ
ของ Histogram ให้กลับคืนมา
·   Fill Light เป็นการเพิ่มความสว่างในส่วนของเงามืดในภาพ
เทียบแล้วก็เหมือนกับการใช้รีเฟลกซ์เปิดเงาให้กับภาพ
· Black เป็นการเพิ่ม-ลดความเข้มในส่วนของเงามืดของภาพ
· Brightness เป็นการเพิ่มความสว่างให้กับภาพซึ่งจะแตกต่างกับการใช้ 
Exposure คือ Brightness จะมีผลกับบริเวณตรงกลางของ Histogram เท่านั้น
แต่ Exposure มีผลกับ Histogram ทุกส่วน
·  Contrast ใช้ปรับเพิ่ม-ลด Contrast ของภาพ


เมื่อเข้าใจเครื่องมือต่างๆแล้ว ก็มาลองแต่งรูปดูกันเลย
จากรูปตัวอย่าง ส่วนที่เป็นเงาของใบหน้ามันมืดไป ลองปรับ Fill Light เป็น 15

ต่อมาลองมองว่าส่วนที่เป็นเงามืดของเสื้อผ้าน่าจะเข้มกว่านี้ผมเลยปรับ Blacks เป็น 4 (จะเห็นว่าส่วนที่เป็นพื้นที่สีน้ำเงินในรูปเพิ่มขึ้น)

ทีนี้ดูที่เสื้อ มองว่ามันติดน้ำเงินนิดๆ ผมจึงปรับ white balance ตามค่าในรูปคือ Temp +25 เพื่อแก้รูปติดโทนน้ำเงิน และปรับ Tint -15 เพื่อไม่ให้รูปติดโทนเหลืองจนผิดธรรมชาติก็จะได้สีผิวที่เข้มขึ้น และดูดีกว่าก่อนทำการปรับแต่ง

หลังจากนั้น เลื่อนแถบเครื่องมือลงมาจนถึงเครื่องมือ Tone Curve

ทำการปรับ contrast ของรูป โดยคลิ๊กที่คำว่า linear แล้วเปลี่ยนเป็น medium contrast

ก็จะได้รูปที่ดูสวยขึ้นดังนี้

ลากแถบเมนูกลับขึ้นไป เพื่อให้ภาพดู soft ขึ้นให้ปรับ Clarity เป็น -25 ถึง -40 แล้วแต่ความชอบ

จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการทำรีทัชแบบง่ายๆเมื่อกดซูมรูปเข้าไปดู ก็จะเห็นร่องรอยไม่พึงประสงค์อยู่

ให้มากดเลือกเครื่องมือรูปวงกลม ตามลูกศร และจะเห็นว่ามีวงกลมสีเทาโผล่ขึ้นมาในรูปปรับขนาดของวงกลมสีเทา ให้ใหญ่กว่าร่องรอยที่ต้องการลบเล็กน้อย

เสร็จแล้วก็จะมีวงกลมสีขาวอีกวงโผลขึ้นมา ให้ลากวงกลมนี้ไปรอบๆ สังเกตุจนกว่าผิวในวงกลมสีเทาวงเดิมเรียบเนียนเมื่อรีทัชเสร็จแล้ว ให้กดที่คำว่า close

เป็นอันว่าเสร็จไป 1รูป

จากนั้นก็ไปปรับแต่งรูปอื่นต่อไปตามวิธีการข้างต้น

เมื่อปรับแต่งครบทุกรูปแล้ว ก็ไปแถบด้านลางสุด กด Ctrl+A เพื่อเลือกทุกรูปแล้วทำการเซฟรูปด้วยคำสั่ง export

จะมีหน้าจอขึ้นมาตามนี้
· ส่วนแรกคือ Folder ที่คุณจะเลือกเพื่อทำการเซฟรูป
· ส่วนที่สองคือ format ของรูปที่ต้องการจะเซฟ ซึ่งปกติให้เลือกเป็น JPG และ color space เป็น sRGB
· ส่วนที่เฉพาะกรณีที่คุณต้องการย่อรูปด้วยโปรแกรมนี้
แต่โดยส่วนตัวแล้ว แนะนำให้ย่อด้วย photoshop ดีกว่าเมื่อเลือกทุกอย่างแล้วกด export ก็เป็นอันเสร็จ






































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 นามสกุลไฟล์ภาพ ที่คนรักการถ่ายรูปควรรู้

การถ่ายภาพเบื้องต้น